เทคนิคการตั้งรหัสผ่าน (Password) ให้ปลอดภัย 7 ข้อ
1. สร้างรหัสผ่านให้แตกต่างกันในแต่ละบัญชีบริการ
ลองนึกดูว่าถ้าหากประตูรถ, ประตูบ้าน, ประตูสำนักงาน สามารถเปิดได้ด้วยกุญแจดอกเดียวกัน จะเกิดอะไรขึ้น? มันชัดเจนอยู่แล้วว่า ถ้าหากแฮกเกอร์สามารถเข้าถึงในพื้นที่หนึ่งได้แล้ว เขาก็จะสามารถเข้าถึงอีกที่หนึ่งได้เช่นกัน ดังนั้นคุณจึงควรมีกุญแจที่แตกต่างกันสำหรับแม่กุญแจที่แตกต่างกัน
2. เปลี่ยนรหัสผ่านของคุณอยู่เสมอ
แนะนำให้เปลี่ยนรหัสผ่านของคุณอยู่เป็นประจำ แนะนำปีละ 1 ครั้ง สามารถดูเทคนิกการตั้งรหัสผ่านได้ที่นี่ ในบางแอปพลิเคชันจะมีการตั้งค่าให้เตือนผู้ใช้งานเปลี่ยนรหัสผ่านอยู่บ่อย ๆ เช่น ถ้าหากคุณใช้ Windows คุณจะสามารถเลือกการเปลี่ยนรหัสผ่านเพื่อเข้าสู่ Windows อยู่เป็นประจำได้โดยใช้ตัวเลือกรหัสผ่านใน Local Security Policy เพียงแค่เลือกไปที่ Password Policy ซึ่งอยู่ใต้ Account Policies คลิกสองครั้งที่ Maximum password age ที่อยู่ทางด้านขวา กรอกจำนวนวันที่คุณต้องการใช้รหัสผ่าน แล้วคลิกที่ OK นี่ก็จะเป็นการแจ้งเตือนคุณให้เปลี่ยนรหัสผ่าน
3. เลือกรหัสผ่านที่เหมาะสม:
รหัสผ่านควรมีความยาวอย่างน้อย 16 ตัวอักษร กำหนดให้มีทั้งตัวเลข, เครื่องหมายอักขระ, ตัวพิมพ์เล็ก, ตัวพิมพ์ใหญ่ และไม่ควรใช้ตัวอักษรซ้ำกันหรือเป็นคำเหมือน ID หรือชื่อ Account
อ่านมาถึงตรงนี้แล้วมันดูค่อนข้างซับซ้อนใช่หรือไม่? เพราะมันไม่ใช่ยุ่งยากเพียงแค่การสร้างมันขึ้นมาเท่านั้น แต่ยังยากต่อการจดจำอีกด้วย
วิธีการหนึ่งที่จะสร้างรหัสผ่านที่ยอดเยี่ยมที่คุณจะสามารถจดจำได้คือการแกะออกมาจากประโยค ตัวอย่างเช่น “I have 3 pink goats and 5 cats in the house.” ดังนั้นจึงได้รหัสผ่านเป็น: Ih3pga5cith ในขณะที่กำลังสร้างรหัสผ่านใหม่ คุณอาจใส่ความสนุกสนานลงไปด้วยได้เช่นกัน
4. เลือกใช้การยืนยันแบบสองขั้นตอน:
Gmail และ Facebook มีวิธีการที่จะช่วยเพิ่มระดับการรักษาความปลอดภัยให้กับคุณ เมื่อทำการลงชื่อเข้าใช้ คุณเพียงแค่กรอกรหัสที่ได้รับทางโทรศัพท์ลงไปเท่านั้น นี่เป็นวิธีการที่ฉลาดและรวดเร็ว
5. ปิดการใส่ชื่อและรหัสผ่านแบบอัตโนมัติ:
การปิดการกรอกแบบอัตโนมัติ
การปิดโหมดนี้จะช่วยคุณได้มากเมื่อคุณได้ลงชื่อออกจากระบบไปแล้วและตัวคุณไม่ได้อยู่ตรงหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ มันอาจจะดูซับซ้อน แต่สิ่งนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญเมื่อคุณกำลังใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะหรือแชร์เครื่องคอมพิวเตอร์กับผู้อื่น หากต้องลุกไปทำธุระหรือออกไปนอกบ้านในระยะเวลาอันสั้น อาจจะใช้วิธีการ Sleep คอมพิวเตอร์เพื่อให้ล็อกอุปกรณ์ไว้จนกว่าคุณจะกลับมาเปิดมันและใส่อุปกรณ์อีกครั้ง
ในการปิดฟีเจอร์นี้บน Internet Explorer
คลิก Tools > Internet Options > Content, และเลือกปุ่ม Settings ในส่วนของ AutoComplete ลบเครื่องหมายออกจากชื่อและรหัสผ่าน คลิก OK และเลือกไปที่แท็บ General คลิกที่ Delete > Delete Passwords คลิก Close และ OK ลบเครื่องหมายออกจากชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านบนฟอร์มในการตั้งค่า AutoComplete ของ Internet Explorer
ใน Firefox
เพียงแค่คลิกที่ Tools > Clear Private Data (หรือกด Ctrl-Shift-Delete), ทำเครื่องหมายในทุกช่องและคลิกที่ Clear Private Data Now
ใน Google Chrome
คลิกที่ปุ่มเมนูของ Chrome > เลื่อนลงมาด้านล่างสุดของหน้าการตั้งค่า และคลิกที่ Show advanced settings > เลื่อนลงมาและไปที่ส่วนของ Passwords and forms > ลบเครื่องหมายออกจากตัวเลือก Enable Autofill…
6. ใช้งานโปรแกรมจัดการรหัสผ่าน
หากคุณกลัวว่าจะลืมรหัสผ่าน ปัจจุบันมีโปรแกรมจัดการกับรหัสผ่านมากมายให้เลือกใช้งานและเก็บล็อกอินของคุณ มันเหมือนกับการมีตัวเก็บความจำติดตัวไปด้วยกับคุณ โดยจะมีตัวเลือก 1Password, LastPass, Roboform คุณต้องจดจำเพียงแค่รหัสผ่านมาสเตอร์เพื่อล็อกอินไปยังตัวโปรแกรมจัดการรหัสผ่านเท่านั้น
7. จงอย่าส่งรหัสผ่านของคุณทางอีเมลหรือบอกผ่านทางโทรศัพท์
คุณไม่สามารถทราบได้เลยว่าจะมีใครมาแอบฟังคุณอยู่หรือไม่ ลองนึกดูว่าถ้าบ้านของคุณเต็มไปด้วยของมีค่ามากมาย แล้วคุณลืมล็อกประตู จะเกิดอะไรขึ้นกับผู้ที่เดินผ่านไปมา รหัสผ่านออนไลน์ก็เหมือนกุญแจเข้าบ้านคุณ คุณจะต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่าอุปกรณ์ของคุณถูกล็อกไว้อย่างปลอดภัย
การสร้างรหัสผ่านแบบนี้ "e$!gjelgiuy^" ดูเหมือนเป็นคำที่ไม่มีความหมายใด ๆ แต่การสร้างรหัสผ่านแบบนี้สามารถช่วยปกป้องคุณจากผู้ก่อกวนบนโลกออนไลน์ได้
เมื่อคุณตั้งรหัสผ่านให้มีความปลอดภัยแล้ว คุณควรเชื่อมต่อ VPN เพิ่มความปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ตด้วย
เราแนะนำ BullVPN VPNพี่วัว ที่มี Routing เฉพาะตัว ที่จะทำให้ข้อมูลของคุณถูกเข้ารหัสไว้ทั้งหมด ป้องกันการถูกขโมยข้อมูลจากแฮกเกอร์และการถูกดักจับข้อมูลสำคัญ ทำให้การท่องโลกอินเทอร์เน็ตของคุณเป็นไปได้อย่างอิสระ ทะลุบล็อกเว็บไซต์และปกปิดตัวตนของคุณบนโลกออนไลน์ สมัครได้เลยที่ www.bullvpn.com