pattern

แบนเฟซบุ๊ก 10 ประเทศที่ Facebook เคยโดนแบนและยังโดนอยู่

     15,868

pattern

facebook_ban

ข้อมูลของเว็บไซต์ indexoncensorship.org พบว่า 10 ประเทศที่เคยถูกแบน และปลดแบนแล้ว หรือบางประเทศก็ยังคงแบน facebook จนถึงปัจจุบัน มีประเทศอะไรบ้าง มาดูกันเลย

เกาหลีเหนือ (North Korea)

ไม่กล่าวถึงไม่ได้จริงๆ สำหรับประเทศที่การเข้าถึงโลกโซเชียลเป็นอะไรที่ยากมาก และแม้เกาหลีเหนือจะอนุญาตให้นักท่องเที่ยวสามารถใช้เครือข่าย 3G ในประเทศได้ แต่สำหรับพลเมืองในประเทศเกาหลีเหนือเอง ก็ยังคงถูกจำกัดการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตอยู่ดี แต่ถึงอย่างนั้นชาวเกาหลีเหนือก็ไม่ได้เดือดร้อนกับมาตรการที่ว่าเท่าไหร่นัก เพราะคนในประเทศเขาชินกับการจำกัดขอบเขตเสรีภาพแบบนี้มานานมากแล้ว

อิหร่าน (Iran)

ประชาชนชาวอิหร่านมีโอกาสได้ทำความรู้จักกับ Facebook เพียงระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น เพราะหลังจากการเลือกตั้งปี 2009 เสร็จสิ้น รัฐบาลได้มีมาตรการเพื่อป้องกันเหตุความวุ่นวายที่มาจากการปลุกปั่นให้เกิดการเคลื่อนไหวของฝ่ายต่อต้าน และแม้ประธานาธิบดีจะมีทวิตเตอร์เป็นของตัวเองก็ตาม แต่การเข้าถึงเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ในประเทศอิหร่านก็เป็นเรื่องที่ยากมากและโดนสอดส่องตลอดเวลา

จีน (China)

เฟซบุ๊กในประเทศจีนนั้น ถูกบล็อกนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี 2009 หลังเกิดการประท้วงโดยชนกลุ่มน้อยมุสลิมอุยกูร์ ในอุรุมชี ซึ่งเป็นการรวมตัวที่เกิดจากการใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารและวางแผนการต่าง ๆ ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนต้องออกกฎควบคุมอินเทอร์เน็ต ลบโพสต์ รวมถึงบล็อกการเข้าถึงเฟซบุ๊กของประชาชนในประเทศไป

คิวบา (Cuba)

แม้จะไม่ได้ถูกแบนอย่างเป็นทางการ แต่การเข้าถึงโลกโซเชียลของประชาชนชาวคิวบาเป็นอะไรที่ยากมาก และมีเพียงนักการเมือง สื่อมวลชน และนักศึกษาแพทย์เท่านั้น ที่ได้รับอนุญาตให้สามารถใช้เฟซบุ๊กได้ ส่วนคนทั่วไปที่อยากมีเฟซบุ๊กกับเขาบ้าง ก็ต้องยอมจ่ายค่าเข้าอินเทอร์เน็ตตามร้านเน็ตทั่วไป ที่มีราคาสูงถึง 6-10 เหรียญต่อชั่วโมง ในขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงของคนในประเทศนี้อยู่ที่ 20 เหรียญ

บังกลาเทศ (Bangladesh)

เฟซบุ๊กในประเทศบังกลาเทศถูกสั่งปิดอย่างเป็นทางการในปี 2010 เนื่องจากมีการโพสต์ภาพการ์ตูนล้อเลียนศาสดามูฮัมหมัด รวมถึงผู้นำประเทศหลายท่าน จนไปสู่การจับกุมผู้ก่อเหตุที่สร้างเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ทำให้ทางการบังกลาเทศตัดสินใจตัดไฟแต่ต้นลม ด้วยการแบนเฟซบุ๊กนานนับสัปดาห์เลยทีเดียว และแม้ว่าทุกวันนี้ ชาวบังกลาเทศจะสามารถกลับมาใช้เฟซบุ๊กได้อีกครั้งแล้ว แต่ทุกอย่างก็อยู่ภายใต้การเฝ้าดูของหน่วยงานรัฐทุกฝีก้าว

อียิปต์ (Egypt)

หลังจากเกิดเหตุความวุ่นวายขึ้นเมื่อปลายปีที่่ผ่านมา รัฐบาลอียิปต์ได้ตัดสินใจระงับการเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์เกือบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ยูทูบ ฮ็อตเมล หรือแม้แต่กูเกิล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปลุกปั่นและสร้างความวุ่นวายในประเทศเหมือนเช่นที่ผ่านมา

ซีเรีย (Syria)

เฟซบุ๊กของซีเรียนั้นถูกบล็อกมาตั้งแต่ปี 2007 เพื่อป้องกันการรวมตัวเพื่อเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลของประชาชน โดยที่ฝ่ายรัฐไม่สามารถเข้าถึงหรือตรวจสอบได้ อีกทั้งรัฐบาลซีเรียเองก็กลัวการแทรกซึมจากสายลับอิสราเอล ผ่านทางโซเชียลเน็ตเวิร์คอยู่ไม่น้อย ดังนั้นการปิดเฟซบุ๊กจึงดูเป็นทางออกที่ง่ายที่สุดสำหรับรัฐบาลประเทศนี้

มอริเซียส (Mauritius)

เช่นเดียวกับหลาย ๆ ประเทศที่มีการสร้างเพจบุคคลสำคัญแบบปลอม ๆ ขึ้นมา ประเทศมอริเซียสเองก็พบว่ามีการทำเพจเฟซบุ๊กปลอมขึ้นมาโดยอ้างว่าเป็นเพจของนายกรัฐมนตรี Navin Ramgoolam แห่งมอริเซียส ทำให้รัฐบาลตัดสินใจสั่งแบนเฟซบุ๊กและการเข้าถึงโซเชียลเน็ตเวิร์คทั้งหมดในปี 2007 แต่คำสั่งแบนนี้ก็อยู่ได้ไม่นาน เพราะทนเสียงเรียกร้องและต่อต้านของคนในประเทศไม่ไหว

ปากีสถาน (Pakistan)

เฟซบุ๊กในปากีสถานถูกบล็อกเป็นเวลา 2 สัปดาห์ในช่วงปี 2010 ด้วยเหตุผลทางศาสนา เนื่องจากมีการแข่งขันประกวดวาดภาพศาสดาผ่านทางเฟซบุ๊ก ซึ่งมาตรการดังกล่าวนับเป็นเพียงการตักเตือนเท่านั้น และทุกวันนี้ชาวปากีสถานยังคงใช้งานเฟซบุ๊กได้ตามปกติ แม้ว่าจะไม่สามารถดู Youtube ได้ก็ตาม

เวียดนาม (Vietnam)

ขยับเข้ามาใกล้ประเทศไทยอีกนิด กับเพื่อนบ้านอย่าง เวียดนาม ที่เคยมีการบล็อกเฟซบุ๊กในช่วงปลายเดือนกันยายน ปี 2009 เป็นเวลา 1 สัปดาห์ โดยมีการปล่อยข่าวลือว่ารัฐบาลเวียดนามเป็นผู้สั่งปิด แต่ทางรัฐบาลได้ออกมาปฏิเสธว่าไม่ได้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ดังกล่าว และในเดือนกันยายนปี 2013 รัฐบาลเวียดนามได้ออกกฎหมายห้ามไม่ให้ประชาชนวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลผ่านทางเฟซบุ๊ก แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่เป็นอุปสรรคในการเล่นเว็บไซต์สังคมออนไลน์ของคนเวียดนามสักเท่าไหร่

ยังมีอีกหลายประเทศ ที่ได้มีการบล็อก Facebook ไว้ชั่วคราวหรือแบนถาวร แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศที่ห้ามใช้ Facebook ก็ไม่สามารถชนะได้ เนื่องจากมีวิธีเข้าถึงคอนเทนต์ต่าง ๆ และเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกได้ เพียงแค่คุณใช้บริการ Bull VPN คุณก็จะสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ คอนเทนต์ที่คุณต้องการได้

คุณอาศัยอยู่ในประเทศที่มีการห้ามใช้งาน Facebook อย่างถาวรหรือไม่? แจ้งให้เราทราบว่ามันมีผลกับคุณอย่างไรบ้าง

ch3-thailand-tv-online-live

บริการ BullVPN VPN ที่จะทำให้คุณเป็นอิสระทางโลกอินเทอร์เน็ตทะลุบล็อกข้อจำกัดต่าง ๆ 

✅ ปกปิดตัวตนซ่อน IP 

✅ ทะลุบล็อกเว็บไซต์ต่าง ๆ

✅ ดูหนัง ฟังเพลงได้ลื่นขึ้น

✅ เล่นเว็บไซต์นอกประเทศได้

✅ ป้องกันการถูกแฮกจากฟรีวายฟาย เช่น ร้านกาแฟต่าง ๆ

✅ ปรับอินเทอร์เน็ตออกนอกให้ดีขึ้น ทำให้โหลดข้อมูลเร็วขึ้น

✅ ลดแล็ก ลดปิงเกมก็ได้